รู้จักหน่วยในการวัดค่าทางไฟฟ้า
โวลต์ วัตต์ แอมป์
ในการทำระบบไฟฟ้าภายในบ้านเป็นระบบไฟฟ้ากระแสตรง
12
โวลต์
หรือระบบไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์จำเป็นต้องรู้จักหน่วยวัดค่าทางไฟฟ้าว่ามีอะไรบ้าง
ซึ่งที่เราคุ้นๆ หูก็จะมีหน่วย
โวลต์,
วัตต์ และแอมป์
หน่วยโวลต์
เป็นหน่วยวัดแรงดันไฟฟ้าหรือความต่างศักดิ์ทางไฟฟ้า
เช่น 1.5
โวลต์,
4 โวลต์,
12 โวลต์ หรือ 220
โวลต์ เป็นต้น
โดยกระแสไฟฟ้าโวลต์สูงจะไหลไปหาโวลต์ต่ำเสมอ
หน่วยวัตต์
เป็นหน่วยวัดกำลังทางไฟฟ้าที่ที่เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆ
ใช้โดยทั่วไปจะเทียบกับหน่วยเวลาชั่วโมง
เช่นปั้มน้ำขนาด 750
วัตต์ หมายถึง
ปั้มน้ำนั้นใช้ไฟฟ้า 750
วัตต์ต่อชัวโมง
เป็นต้น
หน่วยแอมป์
เป็นปริมาณไฟฟ้าที่ไฟผ่านจดตรวจสอบในช่วงเวลานั้นๆ
หน่วยแอมป์จะได้จากหน่วยกำลัง
วัตต์ หารด้วย หน่วยความต่างศักดิ์ไฟฟ้า
หรือ โวลต์ (แอมป์
=
วัตต์ /
โวลต์)
เครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับไฟฟ้ากระแสตรง
12
โวลต์บางชนิด
มักจะบอกเป็นหน่วยแอมป์ไว้ในคู่มือ
เช่น ปั้มสูบน้ำกระแสตรง
120
วัตต์
ขณะเดินเครื่องจะใช้ปริมาณไฟฟ้าที่
10
แอมป์ เมื่อใช้กับระบบไฟฟ้า
12
โวลต์ แต่จะใช้ปริมาณไฟฟ้า
5
แอมป์ เมื่อใช้กับระบบไฟฟ้า
24
โวลต์ เป็นต้น
สำหรับหน่วยทางไฟฟ้าในข้างต้น
เราสามารถใช้มัลติมิเตอร์วัดความต่างศักดิ์ทางไฟฟ้าหรือหน่วยโวลต์ได้
ส่วนหน่วยแอมป์โดยทั่วไปจะวัดได้ไม่เกิน
10
แอมป์
ถ้าเกินกว่านี้ตัวมัลติมิเตอร์จะไหม้
ดังนั้นถ้าไม่จำเป็นไม่ควรใช้มัลติมิเตอร์วัดหน่วยแอมป์สำหรับระบบไฟฟ้ากระแสตรง
12
โวลต์ ส่วนหน่วยวัตต์นั้น
มัลติมิเตอร์ทั่วไปจะไม่สามารถวัดได้ต้องใช้การคำนวณแทน
ไฟฟ้ากระแสตรง
(D.C)
กับไฟฟ้ากระแสสลับ
(A.C)
ต่างกันอย่างไร
ที่จริงแล้วการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คนในยุคปัจจุบัน
จะเกี่ยวข้องกัไฟฟ้าตลอดเวลา
เพียงแต่โดยส่วนใหญ่
ไม่รู้ว่าเป็นไฟฟ้ากระแสตรง
หรือกระแสสลับ รู้แต่ว่าเป็นไฟฟ้าเท่านั้น
-ไฟฟ้ากระแสตรง
(Direct
Currency : D.C.)
ในชิวิตประจำวันของคนเราทุกวันนี้
จะต้องเกี่ยวข้องกับไฟฟ้ากระแสตรง
หรือที่เรียกย่อๆ ว่าไฟ
ดีซีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ยกตัวอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าที่แทบจะทุกคนมีพกติดตัวคือ
โทรศัพท์มือถือ
ซึ่งเป็นตัวอย่างของการใช้ไฟฟ้ากระแสตรง,
ไฟฉายเป็นตัวอย่างของการใช้ไฟฟ้ากระแสตรง
หรือแม้แต่เครื่องเสียงในรถยนต์ก็ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง
เป็นต้น
ก่อนที่จะทำความเข้าใจเรื่องของกระแสไฟฟ้า
เราต้องทราบก่อนว่าไฟฟ้าโดยทั่วไป
มี 2
ขั้ว คือ ขั้วบวก
และขั้วลบ
และโดยทั่วไปกระแสไฟฟ้าจะไหลจากขั้วบวกไปหาขั้วลบเสมอ
สำหรับไฟฟ้ากระแสตรงในความที่เข้าใจง่ายที่สุดคือเป็นระบบที่กระแสไฟฟ้าไหลไปในทิศทางเดียวกันตลอดเวลา
คือไหลจากขั้วบวกไปหาขั้วลบ
และความต่างศักดิ์จะคงที่ตลอดเวลาดังกราฟในรูปถัดไป
แหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงที่เราพบเห็นกันโดยทั่วไป
ได้แก่ ถ่านไฟฉาย,
แบตเตอรี่รถยนต์,
แผงโซลาร์เซลล์
และเครื่องปั่นไฟฟ้ากระแสตรง
เป็นต้น
การใช้ไฟฟ้ากระแสตรงมีกฏเหล็กอยู่ข้อหนึ่ง
คือ ห้ามต่อสลับขั้วกันเด็ดขาด
หมายถึง
เราจะต้องรู้ว่าปลายสายไฟฟ้าเส้นไหนเป็นสายไฟฟ้าขั้วบวก
ปลายสายไฟฟ้าขั้วลบ
ถ้าเป็นการเดินสายไฟในระยะสั้นๆ
ก็จะพอดูได้จากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าว่าสายไฟเส้นใดต่องอยู่กับขั้วใดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
แต่ถ้าเป็นการเดินสายในระยะไกลๆ
จำเป็นต้องใช้มิเตอร์วัดค่าทางไฟฟ้าช่วยในการตรวจสอบขั้วไฟฟ้าที่ปลายสายไฟทุกครั้ง
ระบบสายไฟที่ใช้สำหรับไฟฟ้ากระแสตรง
โดยทั่วไปจะมี 2
สาย คือ
สายไฟฟ้าสำหรับขั้วบวก
และสายไฟฟ้าสำหรับขั้วลบ
ถ้าสายไฟที่ใช้เป็นสายแดงตำ
สายสีแดงจะหมายถึงสายไฟฟ้าของขั้วบวก
ส่วนสีดำเป็นสายไฟฟ้าของขั้วลบ
แต่ถ้าใช้สายไฟฟ้าเป็นสีอื่นๆ
ที่ไม่ใช่สายแดงดำ สายสีจางหรือสีขาว
จะเป็นสายไฟฟ้าของขั้วลบ
และสายสีดำ หรือสีเข้มจะเป็นสายไฟฟ้าของขั้วบวก
-ไฟฟ้ากระแสสลับ
(Alternating
Current : AC)
ไฟฟ้ากระแสสลับเป็นระบบไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านเรือนทั่วไป
หมายถึงไฟฟ้าที่มากับระบบสายส่งของการไฟฟ้า
ลักษณะสำคัญของไฟฟ้ากระแสสลับคือขั้วไฟฟ้าในกระแสไฟฟ้ากระแสสลับจะกลับไปกลับมาตลอดเวลา
ถ้าดูจากกราฟของไฟฟ้ากระแสสลับจะมีลักษณะเป็นคลื่นดังรูปถัดไป
ระบบสายไฟฟ้าสำหรับไฟฟ้ากระแสสลับ
จะต่างจากระบบสายไฟฟ้าของไฟฟ้ากระแสตรง
คือ จะประกอบด้วย สายไฟ (L),
สายนิวทรัล (N)
และสายดิน (G)
สายไฟฟ้าที่เราเห็นในระบบสายส่ง
จะมี 2
กลุ่มคือ สายไฟ
และสายนิวทรัล
ส่วนสายดินเป็นสายไฟฟ้าที่ทำขึ้นเพื่อป้องกันการลัดวงจรภายในอาคารบ้านเรือน
จะสังเกตเห็นว่า
ระบบสายไฟฟ้าของระบบไฟฟ้ากระแสสลับไม่ได้แยกเป็นสายไฟขั้วบวก
และสายไฟขั้วลบเหมือนกับไฟฟ้ากระแสตรง
ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องวัดค่าหาขั้วบวกขั้วลบในไฟฟ้ากระแสสลับ
แต่ให้ใช้การตรวจหาว่าสายไหนเป็นสายไฟ
สายไหนเป็นสายนิวทรัล
โดยใช้ไขขวงเช็คไปจี้เข้าไปในรูปลั๊กไฟฟ้า
ถ้าดวงไฟที่ตัวไขขวงเช็คไฟสว่างขึ้นแสดงว่าสายไฟฟ้าที่ตรวจสอบเป็น
สายไฟ
แต่ดวงไฟดับเหมือนปรกติแสดงจุดที่จี้ตรวจสอบนั้นเป็นสายดิน
สำหรับสีของสายไฟสำหรับระบบไฟฟ้ากระแสสลับตามมาตรฐานอุตสาหกรรมของไทยจะแยกเป็น
3
กลุ่มคือ
- กลุ่มสายไฟฟ้าสีดำ,
สีน้ำตาล หรือสีเข้ม
จะใช้สำหรับสายไฟ (L)
- กลุ่มสายไฟฟ้าสีเทาอ่อน
สีฟ้า สีน้ำเงิน หรือสีที่อ่อนกว่าสีเข้ม
จะใช้สำหรับสายนิวทรัล (N)
- กลุ่มสายไฟฟ้าสีเขียวแถบเหลือง
จะให้สำหรับสายดิน (G)
-สีของสายไฟฟ้าสำหรับระบบไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์หรือระบบไฟฟ้ากระแสตรง
12
โวลต์
สายไฟฟ้าที่ต่อออกมาจากแผงโซลาร์เซลล์ที่มีจำหน่ายในบ้านเรามีค่อนข้างหลากหลาย
เช่น ใช้สายสีดำทั้งสายไฟขั้วบวก
และสายไฟขั้วลบ
หรือใช้สายสีดำสำหรับสายไฟขั้วบวก
และสายสีขาวสำหรับสายไฟขั้วลบ
เป็นต้น
ดังนั้นในการเลือกสายไฟฟ้าที่จะนำมาทำเป็นระบบไฟฟ้ากระแสตรง
12
โวลต์แม้จะไม่มีมาตราฐานกำหนดไว้
แต่เวลาที่ทำระบบจริงๆ
ก็ต้องกำหนดวิธีการเลือกให้เป็นมาตราฐานเดียวกันไว้
อย่างในกรณีของผู้เขียนจะกำหนดเกณฑ์ในการเลือกใช้สายไฟฟ้าสำหรับจัดทำระบบไฟฟ้ากระแสตรง
12
โวลต์ดังนี้
1.
ถ้าสามารถหาสายไฟแบบสายแดงดำได้
ซึ่งหาได้ค่อนข้างยากโดยเฉพาะในชนบท
จะใช้สายแดงสำหรับเป็นสายไฟขั้วบวก,
สายไฟสีดำ
เป็นสายไฟขั้วลบ
2.
ในกรณีที่เป็นสายสีดำ
และสายสีอ่อน
จะใช้สายสีดำสำหรับเป็นสายไฟขั้วบวก
และใช้สายไฟสีอ่อนกว่าเป็นสายไฟขั้วลบ
3.
ในกรณีที่เป็นสายไฟสีเดียวกันทั้งหมด
จะใช้เทปพันสายไฟสีดำ
พันที่ปลายสายไฟฟ้าที่เป็นขั้วลบไว้
ที่ต้องกำหนดวิธีการเลือกสีของสายไฟฟ้าไว้ดังข้างต้น
เนื่องจากป้องกันการหลงลืม
แต่อย่างไรก็ดีทุกครั้งที่มีการต่อสายไฟฟ้าในระบบไฟฟ้ากระแสตรง
12
โวลต์
เราจะต้องใช้มิเตอร์ตรวจเช็ตขั้วบวก/ขั้วลบที่ปลายสายทุกครั้ง
เพื่อป้องกันการต่อสายไฟฟ้าสลับขั้วกัน
ที่สำคัญห้ามใช้วิธีการเดาหรือคาดคะเนเอาเป็นอันขาด
-โวลต์สูง,
โวลต์ต่ำ
เรื่องหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงคือเรื่องของ
โวลต์สูง กับโวลต์ต่ำ
เนื่องจากในประเทศไทยมีการนำแผงโซลาร์เซลล์มาต่ออนุกรมกันทำให้ได้ความต่างศักดิ์ที่สูงขึ้นเรียกว่า
Hight
volt D.C. โดยส่วนใหญ่จะนำแผงมาต่อเพื่อให้ได้ความต่างศักดิ์ที่
220
โวลต์เพื่อลดการสูญเสียพลังงานเนื่องจากการแปลงไฟฟ้ากระแสตรงไปเป็นกระแสสลับ
สิ่งที่เป็นเรื่องเข้าใจผิดคือไฟฟ้ากระแสตรงที่โวลต์สูงๆ
ไม่เป็นอันตราย แต่ในความเป็นจริงการทำ
hight
volt D.C.
มีอันตรายอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดูดไม่ต่างกับไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านปรกติทั่วไป
ดังนั้นหากต้องการทำ hight
volt D.C. จะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก
แต่สำหรับการใช้กระแสไฟฟ้าที่โวลต์ต่ำจะไม่มีอันตรายมากนัก
เพียงแต่ระวังอย่าให้สายขั้วบวก
และขั้วลบเกิดการช็อตกัน
ซึ่งจะทำให้เกิดประกายไฟ
หากในบริเวณใกล้เคียงมีสารเคมีที่เป็นเชื้อเพลิงอยู่
จะทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้ได้